Friday, 31 March 2023

ต้นตํานานเบียร์สิงห์ เขาคือใคร

 

ต้นตํานานเบียร์สิงห์

ทุกวันนี้เราดื่มเบียร์สิงห์กันอยู่บ่อยๆ เคยรู้สึกสงสัยกันบ้างไหมค่ะว่าใครคือคิดค้นในประเทศไทย วันนี้แอดเลยอยากมานำเสนอประวัติความเป็นมาของคนคิดค้นเบียร์สิงห์กันค่ะ

นายนายบุญรอด เศรษฐบุตรคือใคร

ต้นตํานานเบียร์สิงห์

พระยาภิรมย์ภักดี นายบุญรอด เศรษฐบุตร เกิดเมื่อวันที่13ตุลาคมพ.ศ.2415 ณ บ้านปลายสะพานยาว วัดบพิตรพิมุข ปากคลองโอ่งอ่าง ตําบลจักรวรรดิ อําเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร นายบุญรอด เศรษฐบุตรและเรียนหนังสือกับบิดาตั้งแต่ตอนยังเด็กจนเมื่ออายุได้11ปีได้เรียนกับพระอาจารย์เนียมวัดเชิงเลนได้หนึ่งปีเศษก็เข้าเรียนฝึกหัดวาดเขียนที่บ้านหลงฤทธิ์ต่อมาจึงได้เรียนภาษาอังกฤษกับท่านอาจารย์ หมอเอยี แมคฟาแลนด์ ที่โรงเรียนหลวงสวนอนันต์ได้สองปีโรงเรียนนั้นได้ย้ายมาสอนที่สวนสุนันทาลัย นายบุญรอด เศรษฐบุตร สามารถสอบไล่ได้ที่หนึ่งในทุกวิชาของโรงเรียนจนต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2433 นายบุญรอด เศรษฐบุตรเป็นครูสอนนักเรียนในโรงเรียนสวนสุนันทาลัยต่อมาจึงได้เป็นครูสอนเด็กที่โรงเรียนเด็กอนาถา

อาชีพความเป็นมา

ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ.2435 เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ หรือพร บุนนาคเสนาบดีกระทรวงธรรมการได้ให้นายบุญรอด เศรษฐบุตร ได้ทดลองทําหน้าที่ตําแหน่งเลขานุการกระทรวงธรรมการ แต่เมื่อจะไปลาออกครูใหญ่ไม่ให้ออกนายบุญรอดจึงตัดสินใจไม่เอาทั้งสองอย่าง จากนั้นนายบุญรอดจึงทํางานเป็นเสมียนโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเลื่อยของห้างกิมเซ็งหลีและห้างเดนิมอสแอนด์ดิกสัน

ต้นตํานานเบียร์สิงห์

จนในที่สุดได้เห็นลู่ทางทางธุรกิจ จึงมาเริ่มเป็นเจ้าของกิจการค้าไม้ เดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาก่อตั้งโรงงานผลิตเบียร์ขึ้นแห่งแรกในประเทศไทยในปีพ.ศ.2476 ซึ่งว่ากันว่าด้วยสายสัมพันธ์อันดีระหว่าง พระยาภิรมย์ภักดีหรือนายบุญรอด เศรษฐบุตรกับพระยารามราฆพเมื่อคราวที่พระยาภิรมย์ภักดีบินไปอังกฤษ เพื่อไปซื้อเครื่องจักรผลิตเบียร์ส่งผลทําให้เกิดโรงเบียร์แห่งแรกของสยาม สามารถดําเนินกิจการบนแปลงที่ดินเดิมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตําบลบางกระบือซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นสมบัติของพระยารามราฆพได้สําเร็จในที่สุด แต่เนื่องด้วยรัฐบาลในสมัยนั้นยังไม่มีนโยบายสนับสนุนเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตเบียร์การอนุมัติโรงเบียร์แห่งแรกบนเนื้อที่9ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยเงินทุนจดทะเบียนแรกเริ่มที่ 600000 บาท จึงต้องยุติบทบาทลงจนในปี พ.ศ.2477

จุดเริ่มต้นของเบียร์สิงห์ครั้งแรกในไทย

จากนั้นในงานสังคมครั้งหนึ่งภรรยาของภิรมย์ภักดีได้นําเอาเบียร์สดใส่ถังไปเปิดให้ผู้คนดื่มฟรีในงานสโมสรคณะราษฎร ซึ่งปรากฏผลว่าเป็นที่พอใจกันยิ่งนักข่าวได้แพร่สะพัดออกไปมีลูกค้าจับจองสินค้า จนได้จําหน่ายเบียร์รุ่นแรกออกสู่ตลาด เมื่อวันที่7กรกฎาคมในปีพ.ศ.2477 โดยมีเบียร์ยี่ห้อต่างๆเช่น ตราว่าว ตราพระปรางค์ ตรากุญแจ ตรารถไฟ ตราหมี ซึ่งปรากฏว่าเบียร์ตราสิงห์ได้รับความนิยมมากที่สุดต่อมาจึงค่อยๆหยุดผลิตยี่ห้ออื่นไป

ต้นตํานานเบียร์สิงห์

จนสุดท้ายเหลือเพียงเบียร์สิงห์ยี่ห้อเดียวซึ่งมีความรู้ความสามารถในการแต่งตําราการคิดคํานวณหน้าไม้สําเร็จรูปและสามารถแต่งตําราว่าวนันและยังได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นนายเรือตรีราชนาวีเสือป่าและกัปตันเรือทะเล นายบุญรอด เศรษฐบุตร ยังบําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอีกเป็นจํานวนมากเช่นได้ถวายตัวเป็นสมาชิกเสือป่า สร้างศาลาท่าน้ำ สร้างกระโจมแตรในสวนลุมพินี สร้างโรงเรียนอนาถาเป็นต้นจึงได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นหลวงภิรมย์ภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยชั้นที่ห้าเบญจมาพรมงกุฎไทยและต่อมาได้เลื่อนเป็นพระภิรมย์ภักดีและได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาภิรมย์ภักดี.เมื่อวันที่1มกราคมปี พ.ศ.2476 จนเมื่อวันที่9กุมภาพันธ์ปีพ.ศ.2485 จึงได้รับพระบรมราชานุญาต.ให้ลาออกจากบรรดาศักดิ์ได้พระยาภิรมย์ภักดีหรือนายบุญรอด เศรษฐบุตร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปีพ.ศ.2493ได้ปิดตํานานผู้ให้กําเนิดเบียร์สิงห์แห่งประเทศไทย

สนับสนุนการจัดทำโดย 460bet


6 − 4 =