Saturday, 13 April 2024

บุคคลในประวัติศาสตร์กับโรคที่เขาน่าจะเป็น

16 Mar 2023
178

บุคคลในประวัติศาสตร์กับโรคที่เขาน่าจะเป็น

ความเจ็บป่วยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมทางสุขภาพ หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่มองไม่เห็น ในอดีตการที่จะระบุสาเหตุหรือแม้แต่หาวิธีการรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะขาดองค์ความรู้และเครื่องมือที่อำนวยความสะดวก ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ไม่ตรงกับโรคที่เป็น การตายของใครบางคนยังคงเป็นปริศนา แต่จะเป็นอย่างไรหากเรามองย้อนกลับไปด้วยมุมมองทางการแพทย์ ณ ปัจจุบัน ร่วมค้นหาคำกับ cupo ได้เลย

แวนโก๊ะกับโรคมีเนีย

บุคคลในประวัติศาสตร์กับโรคที่เขาน่าจะเป็น

วินเซนต์แวนโก๊ะเป็นศิลปินชาวดัชที่มีผลงานโด่งดังอย่างเดอะสตาร์รี่ไนท์ หรือภาพวาดราตรีประดับดาว โดยปัจจุบันเขาถือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในระดับโลก หากแต่ว่าตอนที่มีชีวิตอยู่นั้น ศิลปินผู้นี้กับเจอแต่ความล้มเหลวในชีวิต จนมีปัญหาสุขภาพจิตและต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจิตเวช ภาพจําอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของแวนโก๊ะ คือภาพชายผู้มีภาพอันมีผ้าพันแผลรอบศีรษะ ซึ่งเกิดจากการที่เขาตัดใบหูตัวเองทิ้ง ในขณะนั้นเชื่อกันว่าการกระทําดังกล่าวมาจากปัญหาความไม่มั่นคงทางจิตใจ แต่นักประวัติศาสตร์ทางการแพทย์สมัยใหม่ คาดว่าแวนโก๊ะน่าจะเป็นโรคมีเนียโรคนี้เกิดจากของเหลวส่วนเกินและความดันในหูชั้นในทําให้ส่งผลต่อการได้ยินการทรงตัวผู้ป่วยมักมีอาการบ้านหมุน ได้ยินเสียงกริ่ง เสียงพรึบพรับและเจ็บปวดในหูเป็นอย่างมาก ซึ่งนี่เองอาจจะเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แวนโก๊ะตัดใบหูของตนเองทิ้ง นอกจากนี้ในจดหมายที่แวนโก๊ะเขียนหลายฉบับ ก็มีการพูดถึงการได้ยินเสียงแปลกๆและอาการเวียนศีรษะที่ตรงกับลักษณะของโรคดังกล่าว

อเล็กซานเดอร์มหาราชกับกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร

บุคคลในประวัติศาสตร์กับโรคที่เขาน่าจะเป็น

อเล็กซานเดอร์มหาราชหรืออเล็กซานเดอร์ที่สามแห่งมาซิดอน เป็นจอมราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรกรีกโบราณ พระองค์สามารถพิชิตดินแดนอียิปต์ เปอร์เซีย รวมถึงบางส่วนของเอเชียได้สําเร็จ ทว่าความเกรียงไกรก็คงอยู่ได้ไม่นาน กษัตริย์หนุ่มเสด็จสวรรคต ด้วยพระชนมายุเพียงสามสิบสองพรรษา สาเหตุการเสียชีวิตนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า เป็นเพราะยาพิษหรือเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคอย่างไทฟอยด์และมาลาเรีย อาจารย์อาวุโสแห่งภาควิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอทาโกนําเสนอทฤษฎีที่น่าสนใจไว้ว่า อเล็กซานเดอร์มหาราชน่าจะทรงสวรรค์ด้วยกลุ่มอาการกินกิลแลง-บาร์เร โดยกลุ่มอาการนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ทํางานผิดปกติ

บุคคลในประวัติศาสตร์กับโรคที่เขาน่าจะเป็น

ทําให้มีการผลิตสารภูมิคุ้มกันออกมาทําลายเซลล์ประสาทรอบนอก ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนแรง เกิดเหน็บชาและอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาต ซึ่งคล้ายกับพระอาการในช่วงวาระสุดท้ายของพระองค์ที่ระบุไว้ว่าทรงมีไข้และปวดหลังอย่างเฉียบพลัน จากนั้นพระองค์ก็ไม่สามารถพูดหรือเคลื่อนไหวได้อีกได้บันทึกของพลูทาร์กนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกยังมีการเขียนเพิ่มเติมอีกว่า พระศพของอเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เน่าเปื่อย แม้จะเสียชีวิตลงไปแล้วถึงหกวันจากบันทึกส่วนนี้สามารถอธิบายทางการแพทย์ได้ว่า พระองค์อาจจะยังคงมีพระชนม์ชีพอยู่ แต่ทรงมีภาวะอัมพาตส่งผลให้ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลงผู้คนในตอนนั้นจึงคิดว่าพระองค์ได้สวรรคตลงแล้ว

ฟาโรห์ซิปทาห์กับโรคโปลิโอ

บุคคลในประวัติศาสตร์กับโรคที่เขาน่าจะเป็น

merenptah siptah เป็นผู้ปกครองคนสุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์ พระองค์ขึ้นปกครองอียิปต์ช่วงหนึ่งพันหนึ่งร้อยเก้าสิบเจ็ดปีก่อนคริสตกาล โดยร่างมัมมี่ของพระองค์ถูกค้นพบบริเวณหุบเขากษัตริย์ ห้องเควีสี่สิบเจ็ด จากการตรวจสอบพบว่าร่า มัมมี่สิบท่ามีร่างกายท่อนล่างด้านขวาสั้นกว่าด้านซ้ายและเท้าขวามีลักษณะผิดรูป ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวมีการคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นผลมาจากการที่พระองค์ติดเชื้อไวรัสโปลิโอ ซึ่งไวรัสตัวนี้จะทําให้กล้ามเนื้อแขนขาเป็นอัมพาตและเกิดความพิการถาวรอย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวได้ถูกโต้แย้งเนื่องจากภาพของฟาโรห์ที่ทางเข้าสุสานไม่ได้แสดงถึงลักษณะทางร่างกายที่ผิดปกติ นักวิชาการบางคนก็ให้เหตุผลว่าภาพเขียนบนผนังอาจไม่ได้นําเสนอรูปลักษณ์ที่แท้จริง เนื่องจากต้องรักษาซึ่งพระเกียรติขององค์ฟาโรห์ผู้ล่วงลับ

สนับสนุนการจัดทำโดย sacasino