คุณคงรู้จักสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธสองแห่งสหราชอาณาจักร ผู้ซึ่งเป็นประมุขของสิบห้าประเทศเป็นประธานของเครือจักรภพและเป็นประมุขสูงสุดของคริสจักรอังกฤษและในวันนี้cupoจะพาคุณมาพบกับ สิบเรื่องจริงของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง
1.พระราชประวัติโดยสังเพช สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ทรงมีพระนามเต็มว่า Alizabeth Alexander Marry Winder ประสูติเมื่อวันที่ยี่สิบเอ็ดเมษายนปีหนึ่งเก้าสองหก ทรงเป็นพระธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่หกและสมเด็จพระราชินีนาถพระราชชนนี ซึ่งพระองค์นั้นทรงปรีชาสามารถมาตั้งแต่วัยเยาว์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านภาษา ความรู้ที่แตกชาญในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญ เมื่อพระองค์มีพระชนมายูได้สิบหกพรรษาก็ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน
เมื่อประชาชนมาอายุสิบแปดพรรษา กระทรวงเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลและเริ่มปฏิบัติราชกรณียกิจต่างๆในฐานะของรัชทายาท จากนั้นในปีหนึ่งเก้าห้าสอง เมื่อพระเจ้าจอร์จที่หกสวรรค์ จึงทําให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธขึ้นครองโดยในช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นช่วงท้ายๆของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นสิ่งที่ยังไม่จางหายไป จึงทําให้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความวุ่นวายและมีความตึงเครียดไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการเมือง เศรษฐกิจและสังคมจึงถือได้เป็นช่วงเวลาที่ไม่ง่ายเลยสําหรับกษัตริย์องค์ใหม่
2.ยุคสมัยแห่งการปรับตัวในช่วงเวลาที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานนัก ก็เป็นช่วงล่างที่หลายสิ่งหลายอย่างบนโลกกําลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยพระองค์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและอยู่เหนือการเมือง แต่ถึงอย่างนั้นพระองค์ก็ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการให้คําแนะนําต่างๆแก่รัฐบาลอังกฤษ นั่นจึงทําให้มีนักหนังสือพิมพ์บางส่วนวิพากษ์วิจารณ์พระองค์อยู่เสมอว่าพระองค์นั้นไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง แต่ถึงอย่างไรก็ตามในช่วงต้นรัชสมัยนี้พระองค์ก็ได้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หลายอย่างของทางราชสํานักเพื่อให้สถาบันใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การยกเลิกวิธีรีตองและขั้นตอนต่างๆที่ไม่จําเป็นลดความเป็นทางการให้น้อยลงอีกทั้งยังได้เปลี่ยนการใช้คําจากเดิมไม่ใช้คําสถาบันกษัตริย์ก็เปลี่ยนเป็นคําว่าราชวงศ์แทน เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่ามีความใกล้ชิดและเป็นกันเองมากขึ้น
อีกทั้งยังมีการอนุญาตให้ถ่ายทําสารคดีที่นําเสนอชีวิตประจําวันของพระองค์และราชวงศ์ เพื่อให้ผู้คนได้เห็นมุมมองที่ไม่เคยเห็นมาก่อนและนอกเหนือจากนี้ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายหลายอย่าง แม้ว่าจะมีคนส่วนน้อยที่ต่อต้านสิ่งเหล่านี้ เนื่องจากพวกเขามองว่าเป็นการทําให้ศักดิ์ศรีของสถาบันกษัตริย์ลดน้อยลง แต่ถือว่าสําหรับคนส่วนใหญ่นั้นนี่คือสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบมากมาก ซึ่งก็ทําให้ทางราชวงศ์ได้รับความรักและความนิยมจากประชาชนอย่างล้นหลาม
3.ครองราชย์ยาวนาน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ทรงครองราชย์ตั้งแต่วันที่หกกุมภาพันธ์ปีหนึ่งเก้าห้าสอง มาจนถึงวันที่แปดกันยายนปีสองพันยี่สิบสอง ซึ่งคิดเป็นระยะเวลายาวนานถึงเจ็ดสิบปีกับอีกสองร้อยสิบสี่วัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการครองราชย์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อังกฤษ โดยในช่วงเวลานี้ ครอบคลุมเวลาของผู้เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษมาถึงสิบหกคน ไล่ตั้งแต่สมัยของ วินสตัน เชอร์ชิล มาจนถึงลิซ ทรัสส์ ในปัจจุบัน
4.เสด็จพระราชดําเนินมากที่สุด ตลอดทั้งรัชสมัยพระองค์ทรงเสด็จพระราชดําเนินเยือนดินแดนต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล พระองค์ก็เคยเสด็จพระราชดําเนินเยือนไปแล้วทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยสิบเจ็ดประเทศ นับรวมประเทศที่ล่มสลายไปแล้วและประเทศที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ด้วย และการเสด็จพระราชดําเนินส่วนใหญ่ของพระองค์จะเกิดขึ้นในช่วงนี้พระชนมพรรษาไม่มากนัก แต่ถ้าหากนับรวมระยะทางทั้งหมดจริงๆสํานักข่าวเคยระบุเอาไว้ว่าน่าจะเป็นระยะทางรวมกันไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านไมล์ หรือหนึ่งล้านหกแสนหนึ่งหมื่นกิโลเมตร ซึ่งมากกว่าระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ถึงสี่เท่านิดๆ
5.เยือนประเทศไทย อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า หลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ทรงขึ้นครองราชย์พระองค์ก็เสด็จพระราชดําเนินเหยื่อในดินแดนต่างๆมากมาย ซึ่งนั่นก็รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยพระองค์เสด็จพระราชดําเนินเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปีหนึ่งเก้าเจ็ดสอง ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดําเนินในกรุงเทพมหานครและในปีเดียวกันนี้พระองค์ก็เสด็จมาที่ประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อพระราชดําเนินเยือนเชียงใหม่ จากนั้นในปีหนึ่งเก้าเก้าหกเราองค์ก็เสด็จพระราชดําเนินในประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ
6.สงครามโลกครั้งที่สองกินเวลาในช่วงปีหนึ่งเก้าสามเก้าไปจนถึงปีหนึ่งเก้าสี่ห้า โดยในช่วงเวลานี้เจ้าหญิงเอลิซาเบธในวัยเยาว์ก็ทรงมีบทบาทในสงครามเช่นเดียวกัน โดยเริ่มในปีหนึ่งเก้าสี่ศูนย์อังกฤษถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีอย่างหนัก จนแม้แต่พระราชวังก็ยังได้รับความเสียหาย แต่ทว่าพระองค์และบรรดาราชวงศ์ต่างก็ยังประทับอยู่ภายในพระราชวัง เพื่อเป็นขวัญและกําลังใจแก่ทหารและประชาชนว่าทางราชวงศ์จะไม่หนีไปไหนในปีหนึ่งเก้าสี่สามเจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่มีชื่อว่าขุดหาชัยชนะ
ซึ่งเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกพืชไว้กินเอง เพื่อต่อสู้กับภาวะขาดแคลนอาหารในช่วงสงครามในปีหนึ่งเก้าสี่สี่เข้าร่วมหน่วยรับใช้ดินแดนพิเศษหรือเอทีเอส ซึ่งเป็นหน่วยทหารหญิงของกองทัพอังกฤษ โดยในหน่วยนี้ทหารหญิงจะไม่ถึงขั้นหยิบปืนไปสู้รบ
แต่จะเป็นงานด้านการสนับสนุนมากกว่ายกตัวอย่างเช่น งานแม่ครัว ผู้รับสายโทรศัพท์ งานขับรถ งานรับส่งพัสดุ งานตรวจสอบข้างอาวุธและอื่นๆอีกมากมาย แต่ถ้าว่างานที่เจ้าหญิงนั้นจะเป็นเลือกในเวลานั้นก็คืองานช่างยนต์ ซึ่งมีนั่นในการซ่อมและบํารุงรักษาเครื่องยนต์กลไกต่างๆที่เป็นของทางกองทัพ โดยฝึกในที่พักของหน่วยเอซีเอสที่ว่านี้ก็อยู่ไม่ไกลจากประสาทสักเท่าไรนัก แต่เมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นทรงเลือกที่จะไม่กลับไปพักผ่อนที่ปราสาท แต่พระองค์เลือกที่จะพักอาศัยอยู่ในแคมป์เช่นเดียวกับสมาชิกของหน่วยเอทีเอสคนอื่นๆ